Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

3. ศิลปะแบบทวารวดี (ต่อ)

     พระพุทธรูปแบบทวารวดีได้รับอิทธิพลอย่างเห็นได้ชัดจากพระพุทธรูปแบบคุปตะและหลังคุปตะ ซึ่งเจริญแพร่หลายอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศอินเดียสมัยอมราวดีซึ่งเข้ามาก่อนหน้านั้น เนื่องจากอาณาจักรทวารวดีเจริญอยู่เป็นเวลานานมาก ฉะนั้นจึงได้รับอิทธิพลจากศิลปะรุ่นต่อมาของอินเดียอีก คือ ศิลปะแบบปาละ ซึ่งเป็นศิลปะทางพุทธศาสนา เจริญขึ้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-17 พระพุทธรูปแบบทวารวดีชอบสลักด้วยศิลา ที่หล่อเป็นสัมฤทธิ์ก็มีบ้าง แต่มักจะเป็นขนาดเล็ก และได้มีการค้นพบพระพุทธรูปยืนสัมฤทธิ์ทวารวดีองค์หนึ่งที่เมืองฝ้าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ สูงถึง 1.09 ม. อาจนับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ทวารวดีองค์ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา พระพุทธรูปองค์นี้พระพักตร์ยังคงคล้ายศิลปะอินเดียอยู่มาก เหตุนั้นจึงอาจถูกหล่อขั้นในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13
พระพุทธรุปสัมฤทธิ์สมัยทวารวดีที่จัดมาใหญ่ที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2555

3. ศิลปะแบบทวารวดี (ต่อ)

     นักปราชญ์ทางโบราณคดีสันนิษฐานกันว่าอาณาจักรที่ชื่อว่า โถโลโปตี้ ซึ่งอยู่บริเวณทิศตะวันตกของอิศานปุระ คือประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน และทิศตะวันออกของศรีเกษตร ปัจจุบันคือประเทศพม่า น่าจะตรงกับคำว่าทวารวดี และได้มีการค้นพบเงินเหรียญ 4 เหรียญ สองเหรียญ ณ จังหวัดนครปฐม หนึ่งเหรียญ ณ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และอีกหนึ่งเหรียญที่อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี มีคำจารึกเป็นภาษาสันสกฤตว่า "ศรีทวารวดี ศวรปุณย" แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า "บุญกุศลของพระราชาแห่งทวารวดี" จึงเป็นข้อสนับสนุนคำสันนิษฐานที่ของนักปราชญ์ทางโบราณคดีดังกล่าวว่าเป็นความจริง อาจจะจัดอายุไว้ในพุทธศตวรรษที่ 12 จึงได้ให้ชื่อศิลปะแบบนี้ว่าศิลปะทวารวดี แต่ศูนย์กลางของอาณาจักรทวารวดีจะอยู่ที่ไหนยังคงเป็นข้อที่ต้องสันนิษฐานกันต่อไป ปัจจุบันเชื่อกันว่าอยู่ที่จังหวัดนครปฐม คือบริเวณเมืองโบราณที่มีพระประโทนเป็นจุดศูนย์กลาง เป็นเมืองขนาดใหญ่ มีแผนผังเมืองเป็นรูปไข่และมีคูน้ำล้อมรอบ ส่วนพระปฐมเจดีย์อยู่นอกเมืองด้านทิศตะวันตก

เงินเหรียญ จารึกว่าศรีทวารวดี ศวรปุณย