เทวรูปที่เหลือส่วนใหญ่จะค้นพบในแถบจังหวัดสุราฎร์ธานีและทางภาคตะวันออกในแถบวัดดงศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี มีอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ลงมา ส่วนใหญเป็นเทวรูปพระนารยณ์ 4 กร พระหัตถ์ขวาบนทรงถือจักร พระหัตถ์ซ้ายบนทรงถือสังข์ พระหัตถ์ซ้ายล่างทรงถือคฑา และพระหัตถ์ขวาล่างทรงถือธรณี (ก้อนดิน หรือ ภูมิ) หรือดอกบัว สวมหมวกทรงกระบอก นุ่งผ้ายาวคล้ายผ้าโสร่งมีจีบอยู่ด้านหน้า เทวรูปเหล่านี้จะแบ่งออกได้เป็น 2 หมู่ คือ หมู่คาดผ้าเฉียง และ หมู่คาดผ้าตรง ผูกเป็นปมอยู่ทางด้านขวา
หมู่คาดผ้าเฉียง |
หมู่คาดผ้าเฉียงนั้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับเทวรูปในสมัยหลังคุปตะ คือสมัยราชวงศ์ปัลลวะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 เป็นอันมาก ส่วนใหญพบทางภาคใต้ของประเทศไทย เทวรูปเหล่านี้คงอยู่ชั่วระยะเวลาอันสั้น
หมู่คาดผ้าตรง |
หมู่คาดผ้าตรงนั้นพบมางภาคใต้และภาคตะวันออกของประเทศไทย อาจเจริญขึ้นทางภาคใต้ก่อน หลังจากนั้นจึงแพร่ไปยังภาคตะวันออก คงอยู่นานกว่าหมู่แรก เพราะมีการแสดงวิวัฒนาการให้เห็น โดยเฉพาะทางภาคใต้ คือจากหมาวกและขอบผมที่เป็นเส้นตรงคู่กันทางด้านหน้าของศรีษะ เปลี่ยนเป็นขอบหมวกยังคงเป็นเส้นตรง แต่ขอบผมวาดเป็นเส้นโค้งลงตรงหน้าผาก และต่อมาได้รวมขอบหมวกและขอบผมเป็นเส้นเดียวกัน วาดเป็นมุมแหลมบนหน้าผาก
เทวรูปองค์ที่พบที่อำเภอตะกั่วป่า |
นอกจากนี้ยังมีอีกหมู่หนึ่งซึ่งค้นพบทางภาคใต้ของประเทศไทยโดยเฉพาะ เป็นเทวรูปพระนารายณ์ 4 กร เช่นเดียวกัน แต่ไม่คาดผ้า คงมีแต่เข็มขัดคาดอยู่ส่วนบนของผ้าทรงแบบโสร่ง พระอุระผึ่งผาย และพระหัตถ์ก็ไม่ติดกับลำพระองค์ หมู่นี้ ศาสตราจารย์ โอคอนเนอร์ (Stanley J.O' Conner, Jr.) นักประวัติศาสตร์ศิลปะชาวอเมริกันจัดว่าคงจะคิดแบบขึ้นเองในทางภาคใต้ของปาระเทศไทย และมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 ที่สวยงามอย่างยิ่งก็คือ องค์ที่พบที่อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น