พระพุทธรูปสมัยทวารวดีโดยทั่วไปอาจแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ
1. ราวพุทธศตวรรษที่ 12 ลักษณะของอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบคุปตะและหลังคุปตะยังคงมีอยู่มาก รวมทั้งอิทธิพลของศิลปะอินเดียแบบอมราวดีซึ่งเข้ามาก่อนแบบคุปตะและหลังคุปตะ เช่น ไม่มีรัศมีบนพระเกตุมาลา พระพักตร์ยังคงคล้ายกับศิลปะอินเดีย ถ้าครองจีวรแบบห่มเฉียงก็ไม่มีชายจีวรอยู่เหนือพระอังสาซ้าย ประทับนั่งขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆแบบอมราวดี หรือประทับยืนด้วยอาการตริภังค์(เอียงตน) และแสดงปางด้วยพระหัตถ์ขวาเพียงข้างเดียว พระหัตถ์ซ้ายยึดชายจีวรไว้ในพระหัตถ์ พระพุทธรูปแบบนั้ค้นพบไม่มากนัก
พระพุทธรูปปางประทานพรซึ่งค้นพบที่วัดรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แม้พระองค์ยังคงคล้ายศิลปะแบบคุปตะและหลังคุปตะอยู่แต่พระพักตร์ก็เป็นแบบพื้นเมืองแล้ว เหตุนั้นจึงมีอายุอยู่ในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13 น่าสังเกตว่าในสมัยทวารวดีนิยมใช้หินปูนในการสลักพระพุทธรูป อาจหาหินปูนก้อนหนาๆไม่ค่อยได้ ในการสลักถ้าพระหัตถ์ต้องยื่นออกมาจึงมักสลักพระหัตถ์ต่างหาก และมีเดือยนำมาสวมเข้ากับพระกรในภายหลัง
พระพุทธรูปปางประทานพร พบที่วัดรอ จ.พระนครศรีอยุธยา |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น