ศิลปะทวารวดีแพร่หลายอยู่ในภาคกลางของประเทศไทย เป็นต้นว่าที่จังหวัดนครปฐม ที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดลพบุรี และจังหวัดราชบุรีขึ้นไปจนถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เช่นที่เมืองฟ้าแดดสงยางในเขตจังหวัดกาฬลินธุ์ ได้ค้นพบใบเสมาศิลาสลักเป็นพระพุทธรูป พุทธประวัติ และชาดกต่างๆ และทางภาคตะวันออกของประเทศไทย ทางภาคใต้ก็มีบ้าง พระพุทธรูปชั้นต้นๆ ทีพบกัมพูชาก็ดูจะเป็นแบบเดียวกัน ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13 ชาวเมืองละโว้ (ลพบุรี) ได้ยกขึ้นไปตั้งอาณาจักรอีกแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ มีราชธานีอยู่ที่เมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ศิลปะทวารวดีก็ได้แพร่หลายที่อาณาจักรแห่งนี้ อาณาจักรแห่งนี้คงอยู่จนเมื่อถูกชนชาติไทยตีได้ในต้นพุทธศตวรรษที่ 19 อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปดินเผาส่วนใหญ่ที่พบที่เมืองลำพูน เช่นในซุ้มที่เจดีย์วักกู่กุฏหรือจามเทวี จังหวัดลำพูน คงมีอายุไม่เก่าไปกว่าพุทธศตวรรษที่ 16 เพราะได้รับอิทธิพลของศิลปะขอมจากภาคกลางของประเทศไทยเข้ามาปะปนแล้ว
ใบเสมาที่พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง เป็นภาพสลักพุทธประวัติตอนพิมพาพิลาป จัดเป็นใบเสมาที่งดงามและสมบูรณ์ที่สุด |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น