Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

3. ศิลปะแบบทวารวดี (ต่อ)

    2. แบบที่ 2 นั้น อิทธิพลพื้นเมืองเริ่มมีมากขึ้น เช่น ลักษระพระพักตร์มีขมวดพระเกศาใหญ่ บางครั้งก็มีรัศมีเป็นรูปดอกบัวตูมหรือลูกแก้วอยู่เหนือพระเกตุมาลาหรือพระเมาลี พระพักตร์แบน พระขนงสลักเป็นเส้นนูนโค้งติดกันดังรูปปีกกา พระเนตรโปน พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนาหยัก ประทับนั่งขัดสมาธิหลวมๆตามแบบอมราวดี ถ้าครองจีวรห่มเฉียงมักมีชายจีวรสั้นอยู่เหนือพระอังสาซ้ายเป็นประจำ ชายจีวรดังกล่าวเริ่มขึ้นในศิลปะอินเดียสมัยคุปตะตอนปลาย แต่บางครั้งก็มีขอบจีวรต่อลงมาจากชายจีวรเหนือพระอังสาซ้าย พาดผ่านข้อพระหัตถ์และพระโสณี(สะโพก)ซ้าย อันแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลศอลปะอินเดียสมัยปาละด้วย ดังะรัพุทธรูปนาคปรกซึ่งได้มาจากจังหวัดปราจีนบุรี
    สำหรับพระพุทธรูปยืน พระองค์ตั้งตรง ทรงแสดงปางวิตรรกะมุทรา(ปางประทานธรรม)ทั้งสองพระหัตถ์ ขอบจีวรเหมือนกันทั้งสองด้าน แสดงความได้สัดส่วนอย่างแท้จริง ปางเช่นนี้ในสมัยทวารวดีอาจหมายถึงเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พระพุทธรูปรุ่นนี้คงมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-15

    
พระพุทธรูปราคปรก



พระพุทธรูปแสดงปางวิตรรกะมุทรา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น